โฆษณา

Saturday, November 10, 2007

จังหวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

เมื่อไรที่ท่านควรจะเข้าลงทุนในตลาดหุ้น และเมื่อไรที่ท่านควรจะออกจากตลาดหุ้น
ไม่เพียงแต่ผู้ลงทุนรายย่อยเท่านั้นที่มักจะตัดสินใจลงทุนในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญบ่อยครั้งก็ตัดสินใจลงทุนในช่วงเวลาที่ ไม่เหมาะสมเช่นกัน เคล็ดลับในการลงทุนจึงดูเหมือนว่าจะเป็นระยะเวลาที่ลงทุนไม่ใช่การกะจังหวะการลงทุนแต่อย่างใด แต่ก็แน่นอนว่าจังหวะ ในการลงทุนถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการหลีกเลี่ยงจากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามจากข้อมูลสถิติ ที่ผ่านมาผู้ลงทุนที่ใช้กลยุทธ์การกำหนดจังหวะการลงทุนมักจะไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุน กุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการลงทุนคือความมีวินัย ซึ่งความมีวินัยเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันของเราทุกคน แต่เมื่อวกมาเข้าเรื่องการลงทุนเรามักจะลืมเรื่องดังกล่าวเสียสนิท เรามักจะได้ยินเรื่องราวของนักลงทุนส่วนใหญ่ ที่พากันกรูเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นที่กำลังร้อนแรง และกระโดดออกเมื่อตลาดหุ้นปรับตัวลงมาอยู่ในระดับต่ำที่ควรจะลงทุน นักลงทุนเหล่านี้ไม่ได้นึกถึงเหตุผลที่เป็นตัวผลักดันให้พวกเขาตัดสินใจเข้ามาลงทุนในครั้งแรก แต่มักจะปล่อยให้ความตื่นตระหนกมาครอบงำจิตใจแทน
การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging) คืออะไร
การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนเป็นเทคนิคการลงทุนแบบหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนระยะยาวแต่ทั้งนี้ท่านต้องมีระเบียบวินัยในการลงทุน โดยหลักการแล้วการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนเป็นการใช้ประโยชน์จากการที่ภาวะตลาดฯ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลง แทนที่จะคาดคะเนจังหวะสูงต่ำของตลาดฯ ท่านควรจะลงทุนอย่างสม่ำเสมอในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ด้วยจำนวนเงินที่เท่าๆกันการลงทุนอย่างสม่ำเสมอนี้ไม่เพียงเป็นเพียงการฝึกนิสัยที่ดีให้กับตนเอง แต่เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพทำให้ท่านสามารถบรรลุเป้าหมายการลงทุนที่วางไว้ ด้วยเงินลงทุนที่เท่าๆกันในแต่ละงวด ท่านจะได้รับจำนวนหน่วยลงทุนมากขึ้นเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนลดลงและจะได้น้อยลงเมื่อราคาสูงขึ้นซึ่งจะทำให้ท่านสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนลงไปได้ วิธีนี้จะได้ผลดีที่สุดเมื่อท่านลงทุนอย่างต่อเนื่องตามกำหนดการที่วางไว้โดยไม่สนใจความผันผวนของราคาในแต่ละขณะ
ตัวอย่างการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน

สมมติว่าท่านคิดจะลงทุนทุกเดือนๆละ 10,000 บาท ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น ซึ่งราคาจะเปลี่ยนแปลงไปตามการขึ้นลง ของราคาหุ้นที่กองทุนไปลงทุนเอาไว้ ดังนั้นหากท่านซื้อมาในเดือนแรกที่ราคา 10 บาท ด้วยเงินลงทุน 10,000 บาท ท่านจะได้หน่วยลงทุน 1,000 หน่วย ซึ่งเป็นไปได้ว่าในระยะเวลาสี่เดือนถัดมา มูลค่าหน่วยลงทุนค่อยๆลดลงมาที่ราคา 5 บาท ซึ่งตอนนี้ความมีวินัยจะมีความสำคัญมาก และท่านต้องไม่ให้ความตื่นตระหนกเข้าครอบงำเมื่อตลาดหุ้นเริ่มซบเซา จากตัวอย่างข้างบนท่านจะเห็นว่า การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนมิใช่การรับประกันผลตอบแทนการลงทุนเพราะหากท่านตื่นตระหนก และขายหน่วยลงทุนออกในช่วงที่หุ้นตกถึงจุดที่ต่ำมากๆ ท่านก็ยังคงขาดทุนแน่นอน แต่ถ้าท่านมีวินัยและดำเนินตามแผนการลงทุนที่ตั้งไว้ สมมุติว่าใน เดือนที่แปด สถานการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นฟื้นตัวกลับมาจนทำให้ราคาหน่วยลงทุนกลับมาอยู่ที่เดิมคือ 10 บาท ท่านก็จะมีกำไรจากการลงทุนสูง ถึงเกือบ 38 % ทีเดียว
สร้างผลตอบแทนและลดความเสี่ยงด้วยการลงทุนระยะยาว

No comments: